เมนู

อันมืดมนอนธการ ก็ชัชวาลสว่างกระจ่างแจ้งแลเห็นรูปต่าง ๆ เป็นต้นว่าถ้วยโถโอจานพาน
ภาชนะอันตั้งเรียงเคียงกัน ยถา มีอรุวนาฉันใด โอภาสลักขณปัญญานี้ไซร้ อุปฺปชฺชมานา เมื่อจะ
บังเกิดในสันดานท่านผู้เป็นโยคาวจรนั้น ก็กำจัดเสียซึ่งมืดคืออวิชชาอันบังปัญญามิให้รู้ธรรม
ยังวิชโชภาสอันสุกใสไพโรจน์คือ วิชชาอันจะรู้ไปในธรรมนั้นให้สว่างกระจ่างแจ้ง ยังญาณาโลก
ให้สว่างไสว ก็เห็นแจ้งในพระอริยสัจทั้ง 4 ทีนั้นพระโยคาวจรเจ้าก็เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณ
ว่า อนิจฺจนฺติ วา เป็นอนิจจังบ้าง ทุกฺขนฺติ วา เป็นทุกขังบ้าง อนตตาติ วา เป็นอนัตตาบ้าง
อย่างนี้แหละชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงฟังอุปมาฉะนี้ก็มีน้ำพระทัยหรรษา จึงตรัส
สาธุการว่าพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรอยู่แล้ว
ปัญญาลักขณปัญหา คำรบ 14 จบเท่านี้

นานาเอกกิจจกรณปัญหา ที่ 15


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา อิเม ธมฺมา อันว่ากุศลธรรมทั้งหลายนี้ มีสันดานต่าง ๆ
กัน ให้สำเร็จซึ่งประโยชน์อันเดียวกันหรือ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า กระนั้นแหละมหาบพิตร ธรรมทั้งหลายมีสันดานต่างกัน
ให้สำเร็จประโยชน์อันเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งกิเลสด้วย ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเข้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงนิมนต์ให้พระนาคเสนกระทำอุปมา
พระนาคเสนผู้ปรีชาก็กระทำอุปมาอุปไมยว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานประดุจเสนาจตุรงค์แห่งองค์สมเด็จบรมกษัตริย์อันยกไปปราบปัจจามิตรหมู่
อรินทรราชอันราวี ฝ่ายจตุรงคเสนาทั้ง 4 คือ เสนาช้าง เสนาม้า เสนารถ เสนบทบาทเปล่า
เหล่านี้ต่างกัน กระทำสงครามได้อันเดียวคือ ชนะศึกอันเดียว แล้วก็ฆ่าเสียซึ่งหมู่ปัจจามิตรทั้ง
หลายนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายนี้ไซร้ มีสันดานต่างกัน มีลักษณะต่างกัน ให้
สำเร็จประโยชน์สิ่งเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายให้ประลัย อุปไมยเหมือนจตุรงคเสนีมีสัน
ดานต่างกัน ชนะสงครามอันเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งข้าศึกนั้น